สถานการณ์ปัญหาและระบบสุขภาพประเด็นสุขภาวะแม่และเด็กกขปเขต 12 โดย รศ.ดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา คณะแพทย์ศาสตร์ มอ.หาดใหญ่และ ผศ.ดร.รอฮานี เจะอาแซ คณะพยาบาลศาสตร์ มอ.ปัตตานี
รศ.ดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา ได้กล่าวว่า ปัญหาคุณภาพชีวิตของประชาชน คลี่แผนงาน หลักที่ยังต่ำกว่าเกณฑ์ของเขต 12 ที่อยู่ในพื้นที่ 3 จว.และ 4 อำเภอของสงขลา สาเหตุ มารดาและบุตรเสียชีวิต ภาวะโภชนาการและพัฒนาการของเด็กปฐมวัย และได้รับวัคซีนต่ำ ซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยความยากจน-ต้องหารายได้ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม/แม่ติดยาเสพติดทำให้พ่อแม่ไม่ใส่ใจ รวมถึงความใส่ใจในการบริการและเข้าใจต่อปัญหาของผู้ให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ วัคซีนที่ต้องฉีดหลายครั้ง ทําให้มีอาการไข้ปวดบวมของเด็ก0-3 ปี และชี้ว่าปัญหาเหล่านี้ไม่ควรมองแบบเหมารวม โดยเฉพาะการเหมาว่าเป็นเรื่องความเชื่อทางศาสนา
ผศ.ดร.รออานี เจะ อาแซ คณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.ปัตตานีได้วิจัยกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่พบว่าปัญหาหลักของเด็กคือ พัฒนาการไม่สมวัย เตี้ย ผอม แคระแกร็น ได้รับอาหารไม่เพียงพอและครอบคลุม ซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยด้านเศรษฐกิจ รายได้ที่ลดลง ในส่วนวัคซีนปัจจัยสำคัญที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายไม่ไปรับบริการคือ อาการไข้และปวด การลืม/ไม่มีเวลา สิทธิการรักษาอยู่นอกเขต คือสาเหตุที่ทำให้พ่อแม่ไม่พาเด็กไปฉีดวัคซีนครบจำนวนเข็ม และพบว่าสาเหตุต้นตอก็คือ เด็กเหล่านี้เกิดจากความไม่ตั้งใจของพ่อแม่ ทำให้มีข้ออ้างไม่ไปรับบริการ ซึ่งหน่วยบริการต้องทำงานเชิงรุก และเริ่มนำร่องนำวัคซีนไร้เซลล์ วัคซีนทางเลือก(ไม่ต้องฉีดหลายครั้ง)โดยอบจ.ปัตตานีลงมาสนับสนุน
ภาพรวมประเทศเด็กเกิดน้อยลง ยกเว้นใน 3 จว.และ4 อำเภอของสงขลา พัฒนาการเด็กพบปัญหาที่ปัตตานี นราธิวาส ส่งผลให้ออกจากระบบการศึกษามากขึ้นไปด้วย สสว.11 ผลักดันให้สร้างวาระร่วมระดับเขต “พัฒนาการเด็กปฐมวัย” ที่พบปัญหาเด็กติดจอ สมาธิสั้น รวมถึงความรุนแรงในครอบครัว และกระตุ้นให้ร่วมพัฒนาศูนย์เด็กเล็กให้ได้มาตรฐานทั้งบุคลากรและการจัดการ
โดยมีจุดเน้นการแก้ปัญหาที่สำคัญ เพิ่มศักยภาพของชุมชน/อปท.นำต้นทุนทางสังคมมาช่วยเหลือกันและกัน การใช้กองทุนต่างๆที่มีมาเสริมหนุน การผลักดันกลไกเชิงโครงสร้างที่รับผิดชอบในพื้นที่ทั้งระดับจังหวัดและเขตดำเนินงาน ได้แก่ ศอบต. กลุ่มจังหวัด/จังหวัด/อบจ./อำเภอ/ตำบล
1)ปรับวิธีคิดและทัศนคติของบุคลากรและเครือข่าย ทำงานเชิงรุก ใช้ข้อมูลวิเคราะห์การทำงานมากขึ้น อาทิ ข้อมูลเด็กเล็ก 0-6 ปีที่ตกหล่นเข้าไม่ถึงสิทธิ หรือโภชนาการไม่เพียงพอ ตกหล่นวัคซีน ให้มีความใส่ใจกับการบริการ ช่วยเหลือกันและกัน และเข้าใจในความเป็นมนุษย์ร่วมกัน รวมถึงอุดรอยโหว่ระบบบริการ การส่งต่อ
2)ด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะความยากจน รายได้ที่ลดลงและความเหลื่อมล้ำทางรายได้ด้วยการเพิ่มทักษะอาชีพ การศึกษา
3)ด้านสังคม ทั้งภาวะตั้งครรภ์ไม่พร้อม ยาเสพติด การถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว ให้ชุมชนดูแลกันและกันมากขึ้น ดูเป็นองค์รวมช่วยเหลือกันและกัน
4)ด้านนโยบาย ที่ควรคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายของพื้นที่ บุคลากร เทคโนโลยี รวมถึงสร้างเงื่อนไขและแรงจูงใจให้เข้าถึงการบริการ อาทิ มาตรการเพิ่มเงินอุดหนุนโดยเฉพาะเด็กแรกเกิด การติดตามประเมินผล การขยายพื้นที่ต้นแบบ รวมไปถึงการอุดหนุนอาหารเช้าในโรงเรียนและศพด. และการสื่อสารทางสังคมให้มีความรู้สึกอยากทำ มีการสร้างแรงจูงใจผ่านรางวัลต่างๆ
และมีข้อเสนอให้จัดทำแผน 5 ปี กำหนดค่าเป้าหมายร่วมกัน ในการแก้ปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อม-วางแผนครอบครัว การคลอดก่อนกำหนดหรือแม่ตาย ลูกตาย แก้ปัญหาการใช้สารเสพติดเพิ่มขึ้น การเข้าถึงวัคซีนและทุพโภชนาการ
หมายเหตุ เป้าประสงค์การดำเนินงาน
1.ยกระดับคุณภาพชีวิตในแม่และเด็ก ดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสามารถเข้าถึงบริการ วางแผนครอบครัว ชะลอการตั้งครรภ์ไม่พร้อม
2.พัฒนาระบบบริการ ลดการเสียชีวิตของแม่และเด็ก ลดภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ เพิ่มการเข้าถึงระบบสุขภาพแบบเชิงรุก/พัฒนาเด็กด้านพัฒนาการ โภชนาการ วัคซีนและการดูแลสุขภาพช่องปาก
เป้าเฉพาะ
1.เพิ่มรายได้ ลดความยากจนในกลุ่มครอบครัว ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้
2.ผลักดันนโยบายเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า เข้าถึงสิทธิเบี้ยเลี้ยง/เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด
ข้อมูลใน
www.AHsouth.com มีโครงการจากภาคีเครือข่ายร่วมดำเนินการปี 2567 จำนวน 808 โครงการ รวมงบ 36,570,088.55 ล้านบาท
ภาพ/ข่าว
ยะห์ อาลี
เครือข่ายสื่อสุขภาวะเขต 12
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ " สถานการณ์ปัญหาและระบบสุขภาพประเด็นสุขภาวะแม่และเด็ก กขป เขต 12 "